เมนู

ในสองอย่างนั้น ธรรม 4 อย่างคือ ฉันทะ ริริยะ จิตตะ และ
วิมังสา ผู้ศึกษาพึงทราบว่าเป็นสหชาตาธิปติปัจจัย
เพราะพระบาลีว่า
ฉันทาธิปติ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย แก่ธรรมที่สัมปยุต
ด้วยฉันทะ และแก่รูปที่ไม่ฉันทะนั้นเป็นสมุฏฐานด้วยอำนาจของอธิปติ-
ปัจจัย
ดังนี้เป็นต้น. ก็แลอธิปติปัจจัยนั้น ย่อมไม่เกิดคราวเดียวกัน.
จริงอยู่ ในเวลาใดจิตทำฉันทะให้เป็นธุระ คือให้เป็นหัวหน้า เป็นไป
ในเวลานั้น ฉันทะเป็นอธิบดี แต่วิริยะ จิตตะ วิมังสา นอกจากนี้ หาเป็น
อธิบดีด้วยไม่. แม้ในอธิบดีที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
ส่วนอรูปธรรมทั้งหลาย (คือจิตและเจตสิก) ทำธรรมใดให้หนัก
ย่อมเป็นรูป ธรรมนั้นชื่อว่าเป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย แก่อรูปธรรม
(คือจิตและเจตสิก) เหล่านั้น เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ธรรมเหล่าใด ๆ คือจิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย ทำธรรมเหล่าใด ๆ
ให้หนักย่อมเกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้น ๆ เป็น ปัจจัยแก่กรรมเหล่านั้น ๆ
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.


4. อนันตรปัจจัย และ 5. สมนันตรปัจจัย


ธรรมที่ช่วยอุปการโดยความไม่มีระหว่างคั่น ชื่อว่าอนันตร-
ปัจจัย.

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความไม่มีระหว่างคั่นด้วยดี ชื่อว่า สมนันตร-
ปัจจัย.
ปัจจัยทั้งสองนี้โดยมากอาจารย์ทั้งหลายอธิบายเสียเยิ่นเย้อ. ส่วน
สาระในปัจจัยทั้งสองมีดังนี้ จริงอยู่ การกำหนดจิตนี้ได้ว่า มโนธาตุ มี
มีลำดับจักขุวิญญาณ มโนวิญญาณธาตุ มีในลำดับแห่งมโนธาตุ ดังนี้

เป็นต้น. การกำหนดนั้นย่อมสำเร็จได้ด้วยอำนาจจิตที่เกิดก่อนเท่านั้น
หามีโดยประการอื่นไม่ เพราะฉะนั้น ธรรมที่สามารถให้จิตตุปบาทอัน
เหมาะสมแก่ตนเกิดขึ้นในลำดับของตน ๆ ชื่อว่า
อนันตรปัจจัย. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าที่ชื่อว่าอนันตรปัจจัย ได้แก่ จักขุ-
วิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่
มโนธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
ดังนี้เป็นต้น. ธรรมใดเป็นอนันตรปัจจัย ธรรมนั้นแหละเป็นสมนันตร-
ปัจจัยด้วย. จริงอยู่ ปัจจัยสองอย่างนี้ ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น
เหมือนอุปจยะกับสันตติ และเหมือนสองคำว่า อธิวจนะ (คำเรียกชื่อ)
กับนิรุตติ (ภาษาคำพูด) ฉะนั้น. แต่เมื่อว่าโดยเนื้อความแล้วไม่มีข้อ
แตกต่างกันเลย.
แม้ความเห็นอันใดของอาจารย์ทั้งหลายที่ว่า ชื่อว่า อนันตรปัจจัย
เพราะความไม่มีระหว่างคั่นแห่งกาลที่ยาวนาน ชื่อว่า สมนันตรปัจจัย
เพราะความไม่มีระหว่างคั่นแห่งกาล (ธรรมดา) มตินั้นก็ย่อมผิดจากพระ-
บาลีเป็นต้นว่า เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของ
สมนันตรปัจจัย แก่ผลสมาบัติของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ. แม้คำใดที่
อาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ในปัจจัยทั้งสองเหล่านั้นว่า ความสามารถในอัน
ยังธรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้นยังไม่เสื่อมไป แต่ธรรมทั้งหลายยังไม่เกิดขึ้นใน
ลำดับด้วยดี เพราะถูกกำลังภาวนาห้ามไว้ แม้คำนั้นก็ให้สำเร็จความไม่มี
แห่งความไม่มีระหว่างคั่นแห่งกาลนั่นเอง. จริงอยู่ ข้าพเจ้าขอกล่าวไว้
เพียงเท่านี้ว่า ความไม่มีระหว่างคั่นแห่งกาลในปัจจัยทั้งสองนั้น ย่อมไม่มี
เพราะกำลังแห่งภาวนา ฉะนั้น ความเป็นสมนันตรปัจจัยจึงไม่ถูก จริงอยู่

ธรรมเหล่านั้นจะเป็นสมนันตรปัจจัย เพราะความไม่มีระหว่างคั่นแห่ง
กาลเวลา เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาอยู่ยึดมั่นนัก พึงเชื่อความต่างกัน
ในปัจจัยทั้งสองนั้น โดยพยัญชนะเท่านั้น อย่าเชื่อถือโดยเนื้อความเลย.
คืออย่างไร ? คืออย่างนี้ ความมีระหว่างคั่นแห่งธรรมเหล่านั้นไม่มี
เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อนันตระ (ไม่มีระหว่างคั่น). ความ
ไม่มีระหว่างคั่นด้วยดี เพราะไม่มีการดำรงอยู่แห่งธรรมเหล่านั้น เพราะ-
ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า สมนันตระ ไม่มีระหว่างคั่นด้วยดี เพราะ
ไม่มีการดำรงอยู่.

6. สหชาตปัจจัย


ธรรมที่เกิดขึ้นช่วยเป็นอุปการะ ด้วยอำนาจของการยังธรรมอื่น
ให้เกิดพร้อมกัน เหมือนดวงประทีปเป็นอุปการะแก่แสงสว่าง ชื่อว่า

สหชาตปัจจัย.

สหชาตปัจจัยนั้นมี 6 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอรูปขันธ์เป็นต้น. สม
ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อรูปขันธ์ 4 เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน
ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป 4 เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันด้วย
อำนาจของสหชาตปัจจัย. ในปฏิสนธิขณะนามและรูปเป็นปัจจัยซึ่งกัน
และกันด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯ ล ฯ ธรรมคือจิตและเจตสิก เป็น
ปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯ ล ฯ มหาภูต-
รูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯ ล ฯ ในกาล
บางคราวรูปธรรมเป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ใน